การเสียภาษีรถ อัตราค่าธรรมเนียมและบัญชีอัตราภาษี ตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบกและตามพ.ร.บ.รถยนต์



ภาษีรถยนต์ เสียเองไม่ใช่เรื่องยาก
ออกตัวก่อนเลยว่า เกิดมาเพิ่งเคยมีรถยนต์คันแรก ที่บ้านก็ไม่ได้ร่ำได้รวย ไม่เคยมีรถยนต์เลย ดังนั้น การมีรถยนต์ใช้ของเรา จึงเป็นเรื่องใหม่ แถมต้องช่วยเหลือตัวเองหาข้อมูลเอง ทำอะไรเองในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่ซื้อ ดูแล ขับขี่ เคลมประกัน นั่นนี่ จวบจนปัจจุบัน รถเรามีอายุขวบปีกว่า ๆ แล้วหล่ะ ที่ผ่านมาเราก็ยังใช้รถอย่างเดียว อาจจะยังดูแลรักษาได้ไม่ค่อยดีนัก ทำพลาดอะไรมาก็บ่อย ดังนั้นจึงต้องค่อย ๆ เรียนรู้กันไป อาศัยหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตบ้าง จากคนรอบตัว รอบข้าง เซ้าซี้ถามนั่นถามนี่ไปเรื่อย ทำไงได้ถ้าเราไม่มีรถยนต์ใช้ เราก็จะทำงานไม่สะดวกเลย เฮ้อ คิดจะมีแล้วก็ต้องรักรถสินะ



ภาษีรถยนต์ :
และแล้วสิ่งที่หวั่น ๆ มันก็มาถึง หลังจากที่หวั่น ๆ จะต้องเก็บเงินจ่ายค่าประกันรถยนต์ กับพ.ร.บ. รถไปแล้วรอบนึง โห เสียเงินก้อนไปไม่ใช่น้อย แถมยังต้องหาประกันฯ จนหน้ามืด ตามัว อย่างแรกเปรียบเทียบความคุ้มค่า อย่างที่สองลุ้นระทึกกับเวลาที่ใกล้จะขาดประกันฯ เฮ้อ จวบจนไฟแนนซ์ ส่งจดหมายร่อนมาให้เปิดออกดูเป็นเอกสารชี้แจงยืดยาว บอกว่าคุณใกล้ถึงเวลาส่งภาษีรถยนต์ ให้คุณโอนเงินจำนวน XXXX มาให้ โดยเป็นค่าภาษีฯ รวมค่าธรรมเนียมของไฟแนนซ์ ซึ่งถ้าเรามองเผิน ๆ เราก็ไม่ได้คิดว่าค่าธรรมเนียมเค้าจะมากมายอะไรเท่าไ หร่ พร้อมกับแนบซองจดหมายให้เราใส่เอกสารส่วนท้ายที่เราต่อ พ.ร.บ. ให้เพื่อจะได้ไปเสียภาษีฯให้แทนเรา รถของเราเป็นรถเล็กหน่ะ ค่าธรรมเนียมที่บริษัทไฟแนนซ์คิดเพิ่มก็เลยน้อย เราก็ไม่ได้คิดไรมากหรอก คิดอยู่แต่ว่าเดี๋ยวหาเอกสารได้ แล้วจะโอนเงินไปให้ตามที่เค้าส่งเอกสารมามันคงสะดวกดี แต่แล้วด้วยความบังเอิญ เกิดจากความโง่ของเรา บวกความโชคดี เอ๊ะ ก็คือเรางง ๆ กับคำว่าส่วนท้ายของ พ.ร.บ. อ้าว.. ก็ตอนที่เราทำ พ.ร.บ. อะเราก็ได้ใบอะไรมาเยอะ ๆ เราก็ไม่รู้หรอกนะว่าส่วนท้ายมันคือส่วนไหน เพราะปีแรกตอนออกรถไฟแนนซ์ก็ออกให้ ปีนี้เป็นปีแรกที่เราต่อ พ.ร.บ.เอง ฉันจะรู้ไหมเนี่ยว่าส่วนไหน
คิดได้ดังนั้นดิฉันก็ถามเพื่อน ถามคนนู้น ถามคนนี้ search หาข้อมูลใน’เน็ต ด้วยหาไปหามา ไปเจอข้อความเกี่ยวกับการเสียภาษีฯรถเอง ไม่ยากเลย แถมไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ไฟแนนซ์ด้วย ง่ายมาก ๆ อยากให้ทุก ๆ คนไปเสียเอง แล้วจะรู้ว่าเงินค่าธรรมเนียมที่เราจ่ายให้ไฟแนนซ์ เราไม่ต้องจ่ายเลย เอาไปใช้จ่ายอย่างอื่นที่จำเป็นแทนจะดีกว่า

การเตรียมตัวก่อนไปเสียภาษีรถยนต์เองฯ :
- ตรวจสอบวันที่ต้องชำระภาษีฯ คุณสามารถจ่ายก่อนล่วงหน้าได้ 3 เดือน
- เอกสารที่คุณต้องเตรียมคือ สำเนาสมุดเล่มแสดงความเป็นเข้าของรถยนต์ ถ้าคุณยังติดไฟแนนซ์หรือผ่อนไม่หมด ให้เอาสำเนาเอกสารที่ระบุไฟแนนซ์และชื่อเราไปแทน
- เอกสารที่ต้องเตรียมคือ ส่วนท้ายของ พ.ร.บ. คืออะไรหน่ะเหรอ คือ เอกสารที่ทางบริษัทประกันฯให้เรามาไอ้หน้ายาว ๆ นั่นแหล่ะมองดี ๆ มันจะมีรอบปะให้เราฉีกได้ส่วนข้างล่างแผ่น โดยจะมีข้อความทำนองว่าใช้เป็นหลักฐานสำหรับยื่นเสีย ภาษีฯ
- เตรียมเงินค่ะ คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณต้องเสียเงินเท่าไหร่ ไม่ยากเลย จากใบเสร็จการเสียภาษีฯคราวทีแล้วเค้าก็จะระบุให้ว่า เราต้องเสียครั้งต่อไปเท่าไหร่ หรือจากบริษัทไฟแนนซ์ที่ส่งมาก็จะบอกว่าเราต้องเสียเ ท่าไหร่ หรือ หาข้อมูลการคำนวณได้จากเว็บกรมการขนส่งทางบก
สถานที่ไปเสียภาษีฯ รถยนต์เอง :
- ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี ชำระได้ทุกเสาร์และอาทิตย์เวลา 9.00 – 18.00 สาขาลาดพร้าม รามอินทรา รัชดาภิเษก บางปะกอก สำโรง แจ้งวัฒนะ ฟิวเจอร์พาร์คบางแค อ่อนนุช และสุขาภิบาล 3

- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขทุกแห่งทั่วประเทศ
- ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งทุกสาขาในประเทศ
- สำนักงานเขตทุกเขตใน กทม. อันนี้คงต้องเป็นวันธรรมดา ตามเวลาราชการนะคะ
-----------------------------------------------------------------------
ขอบคุณ บทความ"ภาษีรถยนต์ เสียเองก็ได้ไม่ยากเลย"จาก 9carthai



อัตราค่าธรรมเนียม
ตามพ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 
อัตราค่าธรรมเนียมตามพ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
(1) ใบอนุญาตประกอบการการขนส่งประจำทางต่อเส้นทางหนึ่ง
ฉบับละ 15,000 บาท
(2) ใบอนุญาตประกอบการการขนส่งไม่ประจำทาง
ฉบับละ 4,000 บาท
(3) ใบอนุญาตประกอบการการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก
ฉบับละ 1,500 บาท
(4) ใบอนุญาตประกอบการการขนส่งส่วนบุคคล
ฉบับละ 1,500 บาท
(5) ใบอนุญาตประกอบการการขนส่งระหว่างประเทศ
     (ก) ตลอดปี
ฉบับละ 5,000 บาท
     (ข) เฉพาะคราว
ฉบับละ 500 บาท
(6) ใบอนุญาตประกอบการรับจ้างการขนส่ง
ฉบับละ 5,000 บาท
(7) ใบอนุญาตจัดตั้งและดำเนินการสถานีขนส่ง
ฉบับละ 10,000 บาท
(8) ใบอนุญาตผู้ขับรถและใบอนุญาตนายตรวจ
ฉบับละ 200 บาท
(9) ใบอนุญาตผู้เก็บค่าโดยสารและใบอนุญาตผู้บริการ
ฉบับละ 100 บาท
(10) ใบอนุญาตจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถ
ฉบับละ 20,000 บาท
(11) ใบแทนใบอนุญาต
ฉบับละ 500 บาท
(12) การโอนทะเบียน
ฉบับละ 200 บาท
(13) แผ่นป้ายเลขทะเบียนรถและเครื่องหมาย
ฉบับละ 100 บาท
(14) คำขออนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง
ฉบับละ 100 บาท
(15) คำขออื่น ๆ
ฉบับละ 20 บาท
(16) การต่อใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละฉบับ

ตามพ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 
อัตราค่าธรรมเนียมตามพ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522
(1) คำขอ ฉบับละ 5 บาท
(2) ใบคู่มือจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
(3) แผ่นป้ายทะเบียน แผ่นละ 100 บาท
(4)  การขอค้นทะเบียนรถหรือขอแก้ไขเพิ่มเติมรายการในทะเบียนรถและใบคู่มือจดทะเบียน      
      (ก) รถจักรยานยนต์ ครั้งละ 10 บาท
      (ข)   รถอื่นนอกจาก (ก) ครั้งละ 50 บาท
(5) การโอนทะเบียนรถ ครั้งละ 100 บาท
(6) การย้ายรถ      
      (ก)   รถจักรยานยนต์ ครั้งละ 50 บาท
      (ข)   รถอื่นนอกจาก (ก) ครั้งละ 20 บาท
(7) การตรวจสภาพรถ  
 
 
      (ก)   รถจักรยานยนต์ ครั้งละ 10 บาท
      (ข)   รถอื่นนอกจาก (ก) ครั้งละ 50 บาท
(8) ใบอนุญาตตามมาตรา   23 ฉบับละ 1,000 บาท
(9) ใบอนุญาตตามมาตรา   27 ฉบับละ 1,000 บาท
(10) เครื่องหมายพิเศษตามมาตรา   27 อันละ 100 บาท
(11) สมุดคู่มือประจำรถตามมาตรา   27 ฉบับละ 100 บาท
(12) ใบอนุญาตรถยนต์ตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ทำ ณ นครเจนีวา ค.ศ. 1949 ซึ่งประเทศไทยได้ภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2505 ฉบับละ 1,000 บาท
(13) ใบอนุญาตขับรถยนต์ตามอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนน ทำ ณ นครเจนีวา ค.ศ. 1949 ซึ่งประเทศไทยได้ภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2505 ฉบับละ 500 บาท
(14) ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ฉบับละ 100 บาท
(15) ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลหนึ่งปี ฉบับละ 100 บาท
(16) ใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลตลอดชีพ ฉบับละ 1,000 บาท
(17) ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะหนึ่งปี ฉบับละ 100 บาท
(18) ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ฉบับละ 50 บาท
(19) ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลหนึ่งปี ฉบับละ 50 บาท
(20) ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลตลอดชีพ ฉบับละ 750 บาท
(21) ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะหนึ่งปี ฉบับละ 50 บาท
(22) ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว ฉบับละ 50 บาท
(23) ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์หนึ่งปี ฉบับละ 50 บาท
(24) ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ตลอดชีพ ฉบับละ 500 บาท
(25) ใบอนุญาตขับรถบดถนนสามปี ฉบับละ 150 บาท
(26) ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์สามปี ฉบับละ 150 บาท
(27) ใบอนุญาตขับรถนอกจาก (14) ถึง (16) ฉบับละ 50 บาท
(28) การแก้ไขรายการในใบอนุญาตขับรถ ครั้งละ 50 บาท
(29) หนังสืออนุญาตตามมาตรา 17 วรรคสอง หรือมาตรา 18 ฉบับละ 50 บาท
(30) ใบแทนใบคู่มือจดทะเบียนรถ ฉบับละ 50 บาท
(31) ใบแทนอนุญาต ครึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมใบอนุญาต แต่ไม่เกินฉบับละ ฉบับละ 100 บาท
(32) ใบแทนเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี ฉบับละ 20 บาท
(33) ใบแทนหนังสืออนุญาต ฉบับละ 25 บาท
(34) ค่าธรรมเนียมอื่น ครั้งละ 20 บาท
(35) การรับรองสำเนาเอกสาร แผ่นละ 20 บาท

บัญชีอัตราภาษีรถ
ตามพ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522

บัญชีอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522
น้ำหนักรถเป็นกรัม รถที่ใช้ในการขนส่ง
ประจำทาง
ไม่ประจำทาง
โดยสารขนาดเล็ก
ส่วนบุคคล
ไม่มากกว่า กก. 300  บาท 450  บาท 300  บาท 150  บาท
ตั้งแต่       501 - 750     กก. 400  บาท 600  บาท 400  บาท 300  บาท
ตั้งแต่       751 - 1,000  กก. 500  บาท 750  บาท 500  บาท 450  บาท
ตั้งแต่    1,001 - 1,250  กก. 600  บาท 900  บาท 600  บาท 800  บาท
ตั้งแต่    1,251 - 1,500  กก. 700  บาท 1,050  บาท 700  บาท 1,000  บาท
ตั้งแต่    1,501 - 1,750  กก. 900 บาท 1,350  บาท 900 บาท 1,300  บาท
ตั้งแต่    1,751 - 2,000  กก. 1,100  บาท 1,650  บาท 1,100  บาท 1,600  บาท
ตั้งแต่    2,001 - 2,500  กก. 1,300  บาท 1,950  บาท 1,300  บาท 1,900  บาท
ตั้งแต่    2,501 - 3,000  กก. 1,500  บาท 2,250  บาท 1,500  บาท 2,200  บาท
ตั้งแต่    3,001 - 3,500  กก. 1,700  บาท 2,540  บาท - 2,400  บาท
ตั้งแต่    3,501 - 4,000  กก. 1,900  บาท 2,850  บาท - 2,600  บาท
ตั้งแต่    4,001 - 4,500  กก. 2,100  บาท 3,150  บาท - 2,800  บาท
ตั้งแต่    4,501 - 5,000  กก. 2,300  บาท 3,450  บาท - 3,000  บาท
ตั้งแต่    5,001 - 6,000  กก. 2,500  บาท 3,750  บาท - 3,200  บาท
ตั้งแต่    6,001 - 7,000  กก. 2,700  บาท 4,050  บาท - 3,400  บาท
ตั้งแต่    7001 กก.ขึ้นไป 2,900  บาท 4,350  บาท - 3,600  บาท

ตามพ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522
บัญชีอัตราภาษีตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522
น้ำหนักรถ(กก.)
1.รถยนต์นั่งสำหรับ บุคคลเกิน 7 คน
1.รถยนต์รับจ้าง รถระหว่างจังหวัด
รถยนต์บริการ
1. รถยนต์รับจ้าง
1. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
2. รถยนต์ลากจูง
3. รถแทรกเตอร์ที่    มิได้ใช้ในการเกษตร
ไม่เกิน 500 150 450 185 300
501 - 750 300 750 310 450
751 - 1,000 450 1,050 450 600
1,001 - 1,250 800 1,350 560 750
1,251 - 1,500 1,000 1,650 685 900
1,501 - 1,750 1,300 2,100 875 1,050
1,751 - 2,000 1,600 2,550 1,060 1,350
2,001 - 2,500 1,900 3,000 1,250 1,650
2,501 - 3,000 2,200 3,450 1,435 1,950
3,001 - 3,500 2,400 3,900 1,625 2,250
3,501 - 4,000 2,600 4,350 1,810 2,550
4,001 - 4,500 2,800 4,800 2,000 2,850
4,501 - 5,000 3,000 5,250 2,185 3,150
5,001 - 6,000 3,200 5,700 2,375 3,450
6,001 - 7,000 3,400 6,150 2,560 3,750
7,000  ขึ้นไป 3,600 6,600 2,750 4,050

บัญชีอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถที่เก็บเป็นคัน บาท
เก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)
บาท
1. ความจุกระบอกสูบ
  1.1 600 ซีซี ๆ ละ
  1.2 601 - 1,800 ซี.ซี. ๆ ละ
  1.3 เกิน 1,800 ซี.ซี. ๆ ละ
2. เป็นนิติบุคคลที่มิได้เป็นผู้ให้เช่าซื้อ
3. เป็นรถเก่าใช้มานานเกิน 5 ปี ให้ลดภาษี
  3.1 ปีที่ 6
  3.2 ปีที่ 7
  3.3 ปีที่ 8
  3.4 ปีที่ 9
  3.5 ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป
4. เป็นรถที่ใช้ล้ออย่างอื่น นอกจากล้อยางกลวง เพิ่มอีก

0.05
1.50
4.00
2 เท่า
ร้อยละ
10
20
30
40
50
1/2
1 รถจักรยานยนต์ คันละ
2. รถพ่วงของรถจักรยานต์ คันละ
3. รถพ่วงนอกจากข้อ 2 คันละ
4. รถบดถนน คันละ
5. รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ
100
50
100
200
50











ที่มาของตารางภาษีรถ กรมการขนส่งทางบก