ผู้ใช้รถบางคนไม่เห็นความสำคัญของการทำประกันหรือต่อ พ.ร.บ. แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมาความเสียหายที่คุณต้องชดใช้นั้นเทียบไม่ได้เลยกับค่าทำ พ.ร.บ. เพียงไม่กี่ร้อยบาท ซึ่งช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายกรณีบาดเจ็บ – เสียชีวิตสูงสุดถึง 200,000 บาท ส่วนความคุ้มครองอื่นๆ มีอะไรบ้างนั้น วันนี้มาหาคำตอบกัน
ทำ พ.ร.บ. ดีอย่างไร
คุ้มครองความเสียหายเบื้องต้นทั้งตนเองและคู่กรณี
เมื่อคู่กรณีเกิดชนแล้วหนี ยังมีค่ารักษาพยาบาล
มีสิทธิ์ต่อทะเบียนรถประจำปี
จ่ายเบี้ยถูกคุ้มครองหลักแสน
ความคุ้มครองการทำประกันภัยภาคบังคับ พ.ร.บ.
1. ความคุ้มครองเบื้องต้น
(ไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด) วงเงินคุ้มครอง
1.1 กรณีบาดเจ็บเบื้องต้น (ตามจริง) 30,000 บาท/คน
1.2 เสียชีวิต / สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร 20,000 บาท/คน
2. ค่าเสียหายส่วนเกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น
(หลังตรวจสอบว่าเป็นฝ่ายถูก) วงเงินคุ้มครอง
2.1 ค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาท/คน
2.2 เสียชีวิต / สูญเสียอวัยวะ / ทุพพลภาพถาวร 200,000 บาท/คน
2.3 ค่าชดเชยรายวัน 200 บาท รวมกันไม่เกิน 20 วัน (กรณีเป็นผู้ป่วยใน) สูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท/คน
ตัวอย่าง
ถ้าคุณขับรถกระบะไปเฉี่ยวชนมอเตอร์ไซค์ล้ม คนขับหัวฟาดพื้นได้รับบาดเจ็บจนต้องนำส่งโรงพยาบาล ซึ่งถ้าคุณทำพ.ร.บ. ไว้จะช่วยแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลของผู้บาดเจ็บ และถ้าคู่กรณีเสียชีวิต พ.ร.บ. ก็จะช่วยจ่ายค่าทำศพและจ่ายเงินชดเชยให้สูงสุดถึง 200,000 บาท แต่ถ้าโชคร้ายรถไม่มี พ.ร.บ. หรือขาดต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะตกเป็นภาระของคุณเพียงคนเดียว
สรุปง่ายๆ คือรถทุกคันต้องทำ พ.ร.บ. เพราะไม่เพียงแค่ทำตามกฎหมายกำหนด แต่ยังเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตให้กับผู้ขับขี่และผู้โดยสาร เพียงจ่ายเงินไม่กี่ร้อยเท่านั้น คุ้ม!
ขอบคุณบทความจาก SILKSPAN.COM