รู้จักประกันภัยรถยนต์ และความแตกต่างของแต่ละประกัน

การประกันอุบัติเหตุทางรถยนต์ นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับผู้ใช้รถใช้ถนนทุกๆท่าน การ ประกันอุบัติเหตุ หรือ การประกันภัยรถยนต์ มีหลักๆ อยู่ 5 ประเภท ที่มีรายละเอียดความคุ้มครองที่แตกต่างกันออกไปแล้วแต่ประเภทที่คุณเลือกใช้ วันนี้เราจะมาพูดถึงผลประโยชน์ที่ท่านจะได้รับจากการมีประกันอุบัติเหตุและประกันแต่ละประเภทที่มีอยู่ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้กัน


1. การทำประกันรถยนต์ ถือเป็นวิธีบริการทรัพย์สินวิธีหนึ่งเช่นกัน เพราะถือว่าเป็นการลงทุนเพื่อแลกกับความคุ้มครองของผู้เอาประกัน จากความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้นหากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์นั่นเอง แม้ว่าจะไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ แต่สามารถลดจำนวนเงินค่าชดเชย ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถยนต์ได้ เป็นต้น ดังนั้น การศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับความคุ้มครองให้ถี่ถ้วนก่อนตกลงใจซื้อประกันจากบริษัทใดก็ตามนั้นเป็นสิ่งทีสำคัญที่สุด เพื่อเป็นการทำให้ผู้ซื้อมั่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่าสูงสุดสำหรับตนเอง และ สำหรับคนในครอบครัว นั่นเอง
2. ผลประโยชน์อีกอย่างที่จะได้รับจากการมีประกันอุบัติเหตุ ก็คือ ผลประโยชน์ส่วนตัวของผู้เอาประกันนั่นเอง การทำประกันสามารถเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องใช้รถยนต์ แต่ว่ามีเงินเดือนน้อย และต้องผ่อนค่ารถยนต์นั้นเอง ผู้ขายรถยนต์สามารถให้ผู้ซื้อรถยนต์ ซื้อประกันภัยรถยนต์ แล้วยกผลประโยชน์ของกรมธรรม์ฉบับนั้นให้แก่ผู้ขายรถ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้เอาประกันด้วย ว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขายจะได้รับผลประโยชน์จากการประกัน ในขณะที่ผู้ขับขี่ก็สามารถได้รับผลประโยชน์จากการประกันด้านค่าใช้จ่ายหากต้องใช้บริการสถานพยาบาล กรณีมีผู้บาดเจ็บ ค่าชดเชยสินไหม และค่าซ่อมรถยนต์ด้วย

3. การทำประกันอุบัติเหตุ สามารถสร้างความมั่นคงให้แก่สังคม และ ประเทศชาติได้ คือเป็นการสร้างหลักประกันความปลอดภัยให้แก่สมาชิกของสังคม ว่าหากเกิดอุบัติเหตุ เกิดการบาดเจ็บ หรือ เกิดความเสียหายขึ้น จะมีผู้ที่รับประกันให้ความคุ้มครอง โดยไม่จำเป็นจะต้องมีเงินก้อนในบัญชีเพื่อใช้ในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลนั่นเอง

4. เป็นการช่วยระดมทุน เพื่อสร้างการออม การประหยัดเงินให้แก่ประชากรในประเทศ โดยสามารถนำทุนที่สะสมเอาไว้มาใช้งานการลงทุนหลายๆทางได้ การประกันอุบัติเหตุเป็นเสมือนการช่วยให้ผู้คนนำเงินมาสะสมในรูปแบบของเบี้ยประกัน เพื่อเป็นการช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุได้ และ ผู้รับประกันสามารถนำเงินทุนส่วนนี้ไปลงทุนในโครงการที่จะช่วยเหลือ หรือ พัฒนาประเทศได้โดยการเพิ่มการลงทุนของประเทศนั่นเอง

5. เป็นการช่วยส่งเสริมการลงทุนได้อีกด้วย เพราะเมื่อเจ้าของบริษัท หรือ เจ้าของกิจการทำการลงทุนในการประกันทรัพย์สินที่ใช้งานในโรงงานหรือบริษัทแล้ว ทำให้ไม่ต้องเกรงกลัวว่าทรัพย์สิน เครื่องจักรที่ใช้ในการประกอบธุรกิจเกิดเสียหาย แล้วจะไม่ได้รับการชดเชย ทำให้เจ้าของธุรกิจกล้าลงทุนมากขึ้นนั่นเอง

6.  ให้ผลประโยชน์ด้านธุรกิจ กรณีที่เกิดอุบัติเหตุ อาจจะเกิดความเสียหายต่อบุคคล ด้านอนามัย หรือ ชีวิตได้ โดยสามารถสร้างความเสียหายให้แก่ธุรกิจที่คนๆนั้นทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นด้านทรัพย์สิน ทรัพยากร เวลาการทำงาน และ การประสานงาน ซึ่งอาจจะทำให้ธุรกิจนั้นๆเกิดความผิดพลาด หรือ เกิดความคลาดเคลื่อนในการดำเนินงานได้นั่นเอง

7. ธุรกิจประกันภัยนั้นมีความรุ่งเรืองมากพอกับธุรกิจธนาคาร เมื่อมีธุรกิจประกันภัยเพิ่มขึ้น ก็สามารถทำให้ผู้คนสร้างงาน สร้างรายได้ได้มากขึ้น ทำให้มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

8. การประกันอุบัติเหตุสามารถเป็นตัวช่วยในการสร้างความเสถียรภาพให้แก่การประกอบธุรกิจรูปแบบต่างๆได้ และยังสามารถเสริมสร้างประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจได้ด้วย เพราะผู้ประกอบการสามารถลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆในที่ทำงานได้ สามารถใช้เวลา และ พลังงานในการสร้างผลกำไร ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์โดยตรงของการลงทุน ทำให้ประสิทธิภาพของธุรกิจนั้นๆเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ประกันภัยรถยนต์ ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1 . กรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ ( พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ) ในปัจจุบันกฎหมายบังคับให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกคัน ต้องทำประกันประเภทนี้   ภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยคุ้มครองเฉพาะ ความเสียต่อชีวิต และร่างกายของบุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถ ทุกชนิด โดยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ตามวงเงินความคุ้มครองที่ระบุในหน้าตรางกรมธรรม์ของรถยนต์ชนิดนั้นๆ  ( เรียกว่า พรบ.-ใช้แสดงเมื่อต่อภาษีรถยนต์ประจำปี )

2 . ประกันภัยภาคสมัครใจ ( ประกันภัยประเภท 1,  2, 3, ธรรมดา หรือ พิเศษ ) มีความคุ้มครองต่อชีวิต ,ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของรถยนต์ที่เอาประกันภัย  ในส่วนความเสียหายที่เกินวงเงินความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ ( มีความแตกต่างคือประกันภัยภาคสมัครใจจะคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิต,ร่างกายของบุคคลภายนอก แต่ประกันภัยภาคบังคับจะไม่คุ้มครองเลย  กรณีมีความเสียหายต่อทรัพย์สิน ผู้กระทำละเมิดจะต้องรับผิดชอบเอง )

ประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 และ 2 ,3 มีความแตกต่างกันอย่างไร
ประกันภัยภาคสมัครใจจะแบ่งออกหลายชนิด  เช่น

– ประกันภัยประเภท 1 ซึ่งคุ้มครองครอบคลุมการเกิดภัยทุกชนิด
– ประกันภัยประเภท 2, 3 ธรรมดา เป็นกรมธรรม์ชนิดคุ้มครองเฉพาะภัย จะคุ้มครองเฉพาะความเสียหายทีเกิดแก่บุคคลภายนอก  คุ้มครองรถยนต์ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เอาประกันภัยเฉพาะภัยที่เข้าเงื่อนไขความคุ้มครองเท่านั้น
– ประกันภัยประเภท 2, 3, พิเศษ เป็นกรมธรรม์คุ้มครองเฉพาะภัย เช่นดียวกัน แต่จะคุ้มครอง อุบัติเหตุบางชนิดที่เกิดแก่รถยนต์ที่เอาประกันภัย เช่น กรณีชนกับรถยนต์ ( หรือยานพาหนะทางบก – ยืนยันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ รถยนต์ต้องมีทะเบียน ) กรณีรถยนต์ที่เอาประกันภัยเกิดไฟไหม้, รถยนต์สูญหาย, น้ำท่วม เฉพาะภัยที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยเท่านั้น
(เป็นการแจ้งข้อมูลเบื้องต้น แต่ยังมีรายละเอียด และเงื่อนไขอื่นๆ อีกมาก โดยต้องสอบถามจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัย ผู้มีความรู้เฉพาะเรื่อง )

ประกันรถยนต์ชั้น 1 เหมาะสำหรับรถใหม่ป้ายแดงรถยนต์ที่มีอายุตั้งแต่ 1 – 4 ปีขึ้นไปผู้ขับขี่เป็นมือใหม่หัดขับซึ่งมีโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูง ไม่ค่อยเกิดอุบัติเหตุใหญ่ แต่มีการเฉี่ยวชน เล็กๆ น้อยๆ และค่อนข้างถี่ใช้งานค่อนข้างบ่อย เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่การทำประกันรถยนต์ชั้น 1 ผู้เอาประกันไม่ต้องห่วงเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อมีอุบัติเหตุและถึงแม้อุบัติเหตุไม่ได้เกิดจากการชนโดยตรงก็สามารถเคลมได้

ข้อดีของการทำประกันรถยนต์ชั้น 1
ผู้เอาประกันไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากประกันชั้น 1 คุ้มครองการเกิดอุบัติเหตุทุกกรณี สามารถเลือกซ่อมอู่หรือซ่อมห้างก็ได้ สำหรับรถที่มีอายุไม่เกิน 4 ปี เคลมได้โดยไม่ต้องเสียค่าความเสียหายส่วนแรกกรณี ชนเสา รั้วบ้าน สัตว์เลี้ยง ต้นไม้ หรือสิ่งต่างๆ ที่ระบุได้ชัดเจน สามารถสะสมส่วนลดประวัติดี เพื่อนำมาเป็นส่วนลดค่าเบี้ยประกันในปีถัดไปได้สูงสุด 50% ทำประกันแบบระบุอายุได้สูงสุด 2 คน เพื่อลดเบี้ยประกันได้ ทำประกันเป็นกลุ่มตั้งแต่ 3 คันขึ้นไป โดยที่รถทั้ง 3 คันต้องมีชื่อผู้เอาประกันภัยเป็นบุคคลเดียวกัน ชำระเงินสดมีส่วนลดเพิ่มเติมอีก ส่วนลดที่ได้ขึ้นอยู่กับบริษัทที่เลือก และราคาเบี้ยประกันภัย สามารถผ่อนชำระได้ตั้งแต่ 2-6 งวด 0%

ข้อเสียของการทำประกันรถยนต์ชั้น 1
เบี้ยประกันภัยมีราคาสูงกว่าประกันภัยชั้นอื่นๆ ต้องมีการตรวจสภาพรถ และถ่ายรูปเพื่อเป็นหลักฐาน ก่อนการรับประกันใหม่ในแต่ละปี จำกัดอายุรถอยู่ในการรับประกันแค่ ปีที่ 1-7เท่านั้น หลังจากปีที่ 7 มีเพียงบริษัทประกันไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่รับประกันและราคาเบี้ยประกันก็จะเป็นราคาที่สูงมากๆ ต้องเสียค่าความเสียหายส่วนแรก 1,000 บาท กรณีที่รถชนโดยไม่มีคู่กรณี และไม่ได้เกิดจากการชนคว่ำ

การประกันภัยคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร

การประกันภัยเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการบริหาร การเงินของคุณ เพราะเป็นวิธีที่ทำให้คุณ สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดต่อตัวหรือทรัพย์สินของคุณได้ทุกเมือ โดยบริษัทที่คุณทำประกันภัยไว้จะทดแทน ค่าเสียหายให้ตามวงเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ดังนั้นในการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้แก่คุณและครอบครัว การปะกันภัยจึงมีประโยชน์อย่างมากและเป็นส่วนที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด อย่างไรก็ตามก่อนซื้อประกันภัยคุณควรทำความเข้าใจกับหลักการประกันภัยก่อน เพื่อจะได้สามารถเลือกซื้อประกันภัยแบบที่เหมาะสมในราคาที่คุ้มค่า การประกันภัยคือ การจ่ายค่าเบี้ยประกันภัยในจำนวนที่เล็กน้อย เมื่อเทียบกับความเสียหายแล้ว  เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องเสียเงินเยอะในกรณีที่เกิดความเสียหายขึ้นจริง โดยบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความเสียหายแทน การประกันภัยมิได้เป็นการทำให้ความเสี่ยงหรืออุบัติเหตุหายไป แต่การประกันภัยจะช่วยลดภาระ ค่าใช้จ่ายและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ด้านการเงินตลอดจนการดำเนินการต่าง ๆ อันเนื่องมาจากความเสียหายนั้น แต่อย่างไรก็ตามวิธีการป้องกันความเสียหายที่แท้จริงและดีที่สุดคือการมี ความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตของคุณเองส่วนการประกันภัยนั้นคุณควรมีไว้เพื่อเป็นแหล่งสำรองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น

  • ผู้มีหน้าที่ต้องทำประกันภัยรถ ได้แก่ เจ้าของรถผู้ครอบครองในฐานะผู้เช่าซื้อรถ และผู้นำรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศเข้ามาใช้ในประเทศ
  • การฝ่าฝืนไม่จัดให้มีการทำประกันภัยรถ  พ.ร.บ  คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ 2535 กำหนดให้ระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
  • ผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ 
  • ผู้ประสบภัยอันได้แก่ ประชาชนทุกคนที่ประสบภัยจากรถ ไม่ว่าจเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสารคนเดินเท้า หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดจากรถก็จะได้รับความคุมครองตาม พ.ร.บ นี้
  • ทายาทของผู้ประสบภัยข้างต้น กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต
  • ผู้มีหน้าที่รับประกันภัยและโทษของการไม่รับประกันภัย 
  • ผู้มีหน้าที่ต้องรับประกันภัย คือ บริษัทประกันวินาศภัยที่รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันภัยรถ ประชาชนสามารถทำประกันภัยรถ พ.ร.บ  ได้ที่บริษัทประกันภัยข้างต้นรวมถึงสาขาของบริษัทนั้นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด ที่รับประกันภัยเฉพาะรถจักรยานยนต์ มีสาขาให้บริการทั่วประเทศ
  • บริษัทใดฝ่าฝืนไม่รับประกันภัยรถตาม พ.ร.บ คุ้มครองต้องระวางโทษปรับตั้งแต่50,000บาท ถึง 25,000 บาท
  • อัตราเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ 
  • กำหนดเป็นอัตราเบี้ยประกันภัยชั้นสูงอัตราเดียวแยกตามประเภทรถและลักษณะการใช้รถบริษัท
  • ประเภทรถ เช่น รถจักยานยนต์ รถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง ฯลฯ
  • ลักษณะการใช้รถ แบ่งเป็น 2 ลักษณะการใช้ คือ ส่วนบุคคลและรับจ้าง / ให้เช่า
ข้อแนะนำง่ายๆเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

แจ้งอุบัติเหตุแก่บริษัทประกันภัยทันทีที่ทำได้ โดยติดต่อตามหมายเลขโทรศัพท์ที่บริษัทประกันให้ไว้ คุณอาจจะต้องติดต่อบริษัทประกันให้ส่งพนักงานมา ณ ที่เกิดเหตุเพื่อทำรายงาน
เมื่อมีเจ้าหน้าที่บริษัทประกันมาดำเนินงาน ณ ที่เกิดเหตุแล้ว คุณจะได้รับใบรับแจ้งเหตุ และอาจจะต้องไปแจ้งเพื่อลงบันทึกประจำวัน
นำเอกสารที่ได้รับมาไปรายงานแก่บริษัทประกันภัยด้วยตัวเอง เพื่อตรวจดูราคาทรัพย์สินที่เกิดความเสียหายและจำเป็นจะต้องซ่อมแซม ก่อนนำส่งซ่อมที่อู่ในเครือของบริษัทประกัน
คุณอาจจะสามารถนำรถเข้าซ่อมก่อน แล้วเก็บใบเสร็จมาเพื่อเบิกกับบริษัทประกันในภายหลังได้ แนะนำว่าให้นำรถเข้าซ่อมกับอู่ที่อยู่ในเครือของกับบริษัทประกันเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุดนั่นเอง