การขอรับใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราวและใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว
ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้นผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ความจุ กระบอกสูบขนาดไม่เกิน 110 ซีซีต้องมีอายุไม่ต่ำ กว่า 15 ปี บริบูรณ์) และต้องไม่เป็นผู้มีร่างกาย บกพร่อง หรือ ตาบอดสี
การขอดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถ ให้ยื่นคำขอที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ 1, 2, 3 และ 4 สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
หลักฐานประกอบคำขอ
1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมด้วยภาพถ่าย ในกรณีผู้ขอเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้ยื่นใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง พร้อมด้วยภาพถ่าย
2. ภาพถ่ายหรือสำเนาทะเบียนบ้าน ในกรณีผู้ขอเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้ยื่นใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว (WORK PERMIT) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย หรือหลักฐานแสดงที่พักอาศัยในราชอาณาจักรที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศออกให้ แต่ต้องออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 ปี
3. ใบรับรองแพทย์แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด แต่ต้องออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน
4. รูปถ่าย ขนาด 3 x 4 ซ.ม. (1 นิ้ว) ซึ่งถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นรูปแบบใหม่ ไม่ต้องนำรูปมา แต่ต้องชำระเงินค่าบริการ 100 บาท
ถ้าผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถมีใบอนุญาตขับรถดังต่อไปนี้ ให้นำมาด้วย พร้อมภาพถ่าย เพื่อจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นการทดสอบบางประการ ดังนี้
- ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย
- ใบอนุญาตพิเศษให้ขับรถยนตร์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์ทหาร ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย
- ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย
- ใบอนุญาตขับรถของรถประเภทเดียวกันกับที่ขอรับใบอนุญาตซึ่งรัฐบาลของประเทศอื่นออกให ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย
ในกรณีใบอนุญาตขับรถมิได้มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ให้สถานทูตแห่งประเทศผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถแปลหรือจัดทำเอกสารรับรองใบอนุญาตขับรถเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ภาษาใดภาษาหนึ่ง หรือทั้งสองภาษารวมกัน
กำหนดเวลาและขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตใหม่
เวลา 08.30 - 10.00 น. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐานประกอบคำขอที่ช่องบริการที่ 2 พร้อมทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย แบ่งออกเป็น
การทดสอบปฏิกิริยา ให้ทดสอบความสามารถในการใช้เบรกเท้ารวม 3 ครั้ง หากสามารถเหยียบเบรกได้ในระยะเวลาน้อยกว่า หรือเท่ากับ 0.75 วินาที 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
การทดสอบสายตา แบ่งเป็น
1. ทดสอบสายตาทางกว้าง ถ้าสามารถมองเห็นทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เป็นมุมกว้างข้างละ 75 องศา 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
2. ทดสอบสายตาทางลึก ให้ทดสอบการมองเห็นในระยะ 2.50 - 3.50 เมตร รวม 3 ครั้ง หากผลการทดสอบห่างจากจุดที่กำหนดไม่เกินกว่า 1 นิ้ว 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
3. ทดสอบสายตาบอดสี ให้ดูสีเขียว สีแดง และสีเหลืองจากเครื่องทดสอบหรือแผ่นภาพทดสอบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือเห็นชอบ โดยอยู่ห่างจากแผ่นภาพทดสอบในระดับสายตาระยะไม่น้อยกว่า 3 เมตร แล้วอ่านสีตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดสีละ 3 ครั้ง หากอ่านได้ถูกต้อง 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
ยื่นคำขอพร้อมหลักฐานประกอบ
ทดสอบสายตาทางลึก
และทางกว้าง
ทดสอบตาบอดสี
เวลา 10.00 - 11.00 น. อบรมวิชากฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก (การขับขี่อย่างปลอดภัย)
เวลา 11.00 - 12.00 น. อบรมวิชากฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (มารยาทในการขับรถ)
เวลา 12.00 - 13.00 น. พักเที่ยง
เวลา 13.00 - 13.30 น. ทดสอบข้อเขียนด้วยระบบ E-exam พร้อมแจ้งผลสอบ
การทดสอบข้อเขียน
ผู้เข้ารับการทดสอบข้อเขียนต้องทดสอบความรู้ในข้อควรปฏิบัติ หรือข้อบังคับการเดินรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตามชนิดของใบอนุญาต กรณีเป็นการทดสอบสำหรับการขอรับใบอนุญาตขับรถสาธารณะ ต้องทดสอบความรู้เกี่ยวกับถนนและทางหลวงในเขตจังหวัดที่ขอรับใบอนุญาตขับรถนั้นด้วย
จะใช้วิธีการทดสอบด้วยระบบ E-exam จำนวน 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน และต้องได้ 23 คะแนนขึ้นไปจึงจะถือว่าผ่านการทดสอบทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์
เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ทดสอบขับรถ - รับชำระค่าธรรมเนียม-จ่ายใบอนุญาตฯ
การทดสอบขับรถ
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. การทดสอบขับรถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย เว้นแต่เป็นรถยนต์ที่ไม่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามที่กฎหมายกำหนด
2. การทดสอบขับรถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกนิรภัย
การทดสอบขับรถยนต์ ให้ใช้ท่าทดสอบ ดังนี้
ท่าที่ 1 การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องขับรถเดินหน้าตั้งแต่เริ่มขับรถอย่างต่อเนื่องไปจนถึงจุดทดสอบที่กำหนดให้หยุดรถ โดยให้หยุดรถได้เพียงครั้งเดียว ณ จุดที่กำหนดให้หยุดเท่านั้น ด้านซ้ายของรถต้องขนานขอบทางและห่างจากขอบทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร กันชนหน้าหรือล้อหน้าสุดหรือขอบล้อสำหรับที่ไม่มีกันชนหน้าต้องไม่ล้ำเกินจุดหยุดรถข้างทาง และต้องอยู่ห่างจากจุดหยุดรถนั้น ไม่เกิน 1 เมตร และ ต้องไม่ขับรถปีนทางเท้าหรือขอบทาง
ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง ให้เลือกทดสอบแบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้
แบบที่ 1 ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังออกโดยตลอดช่องเดินรถ ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ในแนวตรงขนานกัน 2 แถว มีความยาวประมาณ 10 - 12 เมตร หลักแต่ละหลักในแถวเดียวกัน มีระยะห่าง 1.5 เมตร ส่วนความกว้างของช่องเดินรถเท่ากับความกว้างสุดของตัวรถรวมกระจกมองข้างบวกเพิ่มอีก 0.5 ิเมตร ต้องไม่ขับรถชนหรือเบียดหลัก ให้ขับรถเดินหน้าหรือถอยหลังได้เพียงครั้งเดียว และเครื่องยนต์ต้องไม่ดับ
แบบที่ 2 ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังออกโดยตลอดช่องเดินรถ ซึ่งมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตร ยาว 10 - 12 เมตร เป็นระยะคงที่ใช้กับรถทุกขนาด ล้อรถต้องไม่ทับเส้น หรือไม่ชน หรือเบียดหลัก ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังได้เพียงครั้งเดียว และเครื่องยนต์ต้องไม่ดับ
ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
ให้ขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้ายซึ่งประกอบด้วยหลักไม่น้อยกว่า 9 หลัก เป็นช่องกว้างเท่ากับความกว้างของรถรวมกระจกมองข้างบวกเพิ่มข้างละ 0.5 เมตร ความยาวของช่องจอดเท่ากับความยาวของตัวรถบวกเพิ่มอีก 2.5 เมตร ตั้งแต่เริ่มเข้าเกียร์ขับรถถอยหลังเข้าจอดจนกระทั่งขับออกจากช่องว่างด้านซ้ายต้องเข้าเกียร์หรือเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน 7 ครั้ง ต้องไม่ชนหรือเบียดหลัก และตัวรถต้องขนานกับขอบทางหรือหลักด้านซ้าย ล้อรถต้องไม่ทับเส้นแบ่งช่องทาง
ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนถนนลาด (สำหรับรถเกียร์ธรรมดา)
ให้ขับรถขึ้นเนินหรือสะพานโค้งแล้วหยุดรถบนเชิงลาดของเนินหรือสะพานโค้งนั้น โดยให้กันชนหน้าอยู่ที่จุดหยุดรถแล้วออกรถข้ามเนินหรือสะพานโค้งนั้นไปโดยปลอดภัย ต้องไม่ขับรถในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นเหตุให้ตัวรถเคลื่อนถอยจากจุดที่หยุดเกินกว่า 1 เมตร และเครื่องดับไม่เกิน 2 ครั้ง
ท่าที่ 5 การกลับรถ
ให้กลับรถในช่องเดินรถ ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ขนานกัน 2 แถว มีความยาวประมาณ 10 - 12 เมตร หลักในแต่ละแถวห่างกัน 1.5 เมตร ส่วนความกว้างของช่องเดินรถเท่ากับความยาวของรถบวกเพิ่มอีก 2 เมตร ต้องไม่ขับรถชน หรือเบียดหลัก และตั้งแต่เริ่มขับรถเพื่อกลับรถ จนกระทั่งกลับรถแล้วเสร็จต้องเปลี่ยนเกียรไม่เกินกว่า 7 ครั้ง
ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
ให้ผู้เข้ารับการทดสอบขับรถจากจุดเริ่มต้นให้ขับเดินหน้าเข้าไปในช่องจอดที่เป็นมุมฉาก ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งเป็นแนวทดสอบ 2 แถว ขนานกันเป็นช่องเดินรถกว้าง 8 เมตร ยาวประมาณ 10 -20 เมตร และหลักอีก 2 แถวที่ตั้งเป็นแนวช่องจอดที่เป็นมุมฉากกับช่องเดินรถที่มีความกว้างเท่ากับความกว้างของตัวรถรวมกับกระจกมองข้างบวกเพิ่มอีกข้างละ 1 เมตร ความยาวเท่ากับความยาวของตัวรถบวกเพิ่มอีก 1 เมตร
ท่าที่ 7 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
ให้ขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ไม่น้อยกว่า 8 เครื่องหมาย คือ ป้ายหยุด ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามเลี้ยวขวา ให้เลี้ยวซ้ายหรือให้เลี้ยวขวา ห้ามหยุดรถ ห้ามเข้า และเครื่องหมายอื่นๆ อีก 3 เครื่องหมาย และต้องให้สัญญาณไฟตามจุดต่างๆ ได้ถูกต้องทุกแห่ง
การทดสอบขับรถยนต์ ให้ทดสอบขับรถ จำนวน 3 ท่า คือ ท่าที่ 1 และท่าที่ 2 เป็นท่าบังคับ และเลือกทดสอบอีก 1 ท่าตามความเหมาะสมของสนามทดสอบ ยกเว้นรถเกียร์อัตโนมัติไม่ใช้ท่าที่ 4 (สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการใช้ท่าที่ 1,2,3 ในการทดสอบ)
การทดสอบขับรถจักรยานยนต์ ให้ใช้ท่าทดสอบ ดังนี้
ท่าที่ 1 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรไม่น้อยกว่า 5 เครื่องหมาย คือ ป้ายหยุด ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามเลี้ยวขวา ให้เลี้ยวซ้ายหรือให้เลี้ยวขวา ห้ามหยุดรถ ห้ามเข้า และต้องให้สัญญาณไฟตามจุดต่างๆ ได้ถูกต้องทุกแห่ง
ท่าที่ 2 การขับรถทรงตัวบนทางแคบ
ต้องขับขี่โดยทรงตัวบนอุปกรณ์ที่ใช้ไม้กระดานกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 15 เมตร หรือใช้คอนกรีตเทเป็นแนวเส้นตรงตามขนาดดังกล่าวให้สูงประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร โดยให้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดห่างจากไม้กระดานหรือแนวคอนกรีต 8 เมตร และต้องขับผ่านตลอดตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 วินาที และเริ่มนับเวลาเมื่อล้อหลังขึ้นอยู่บนอุปกรณ์และสิ้นสุดเมื่อล้อหน้าลงจากอุปกรณ์
ในระหว่างขับ เท้าต้องไม่หลุดจากที่พักเท้า ล้อต้องไม่ตกหรือลื่นไถลจากอุปกรณ์ ใช้ความเร็วอย่างเหมาะสม และเครื่องต้องไม่ดับระหว่างทดสอบ
ท่าที่ 3 การขับรถผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูปตัวแซด
ให้ขับรถในทางโค้งรัศมีแคบ ที่ใช้หลักหรือกรวยหรือใช้คอนกรีตเทเป็นรูปตัวแซด (Z) ที่มีช่องเดินรถกว้าง 2 เมตร กรวยหรือหลักห่างกัน 1.5 เมตร ฐานบนและฐานล่างของตัวแซด ยาว 5 เมตร ความยาวระหว่างฐานบนและฐานล่างของตัวแซด ยาว 16 เมตร ให้ขับรถช้า ใช้เกียร์ต่ำและสามารถควบคุมรถขับเลี้ยวขวาและเลี้ยวซ้ายไปได้ตลอด ห้ามลื่นไถลหรือรถล้ม ไม่ชนกรวยหรือหลัก เครื่องยนต์ต้องไม่ดับ และไม่ใช้เท้าแตะพื้น
ท่าที่ 4 การขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวารูปตัวเอส
ให้ขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวา ที่ใช้หลักหรือกรวยหรือใช้คอนกรีตเทเป็นรูปตัวเอส (S) ที่มีช่องทางเดินรถกว้าง 2 เมตร ยาว 17 เมตร กรวยหรือหลักห่างกัน 1 เมตร ให้สามารถควบคุมรถผ่านไปได้ตลอดโดยรถไม่เสียหลักลื่นไถลหรือล้ม ไม่ชนกรวยหรือหลัก เครื่องยนต์ต้องไม่ดับ และไม่ใช้เท้าแตะพื้น
ท่าที่ 5 การขับรถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
ให้ขับรถด้วยความเร็วที่ 20 - 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขับรถหลบหลีกกรวยยางที่ตั้งไว้สำหรับทดสอบไปทางด้านซ้ายและด้านขวาในลักษณะสลับฟันปลา ซึ่งกรวยยางตั้งบนพื้นที่ที่มีความกว้าง 3.5 เมตร จำนวน 5 หลัก เป็นเส้นตรงบริเวณกึ่งกลางของพื้นที่ที่ใช้ทำการทดสอบ โดยให้กรวยยางแต่ละอันมีระยะห่าง 5 เมตร โดยให้จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดมีระยะห่างจากกรวยยาง จำนวน 8 เมตร ในระหว่างขับรถต้องสามารถควบคุมรถได้ดี ไม่เสียหลักลื่นไถล ไม่เฉี่ยวหรือชนสิ่งกีดขวางหรือขอบทาง และเครื่องยนต์ต้องไม่ดับขณะขับรถ
การทดสอบขับรถจักรยานยนต์ ให้ทดสอบขับรถ จำนวน 3 ท่า คือ ท่าที่ 1 เป็นท่าบังคับ และเลือกทดสอบอีก 2 ท่าตามความเหมาะสมของสนามทดสอบ (สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการใช้ท่าที่ 1,2,5 ในการทดสอบ)
*เมื่อผ่านการทดสอบแล้วจะได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว มีกำหนด 1 ปี จากนั้นจึงขอเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตขับรถชนิดส่วนบุคคลมีกำหนด 5 ปี เมื่อใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมีอายุครบ 1 ปี แล้ว และมิได้นำมาเปลี่ยนประเภท หากขาดอายุเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องทดสอบข้อเขียนใหม่ หากขาดอายุเกิน 3 ปี จะต้องทำการทดสอบใหม่ทั้งหมด การดำเนินการขอใบอนุญาตขับรถใหม่ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับจากวันยื่นคำขอ ถ้าเกิน 90 วัน ต้องดำเนินการใหม่ทั้งหมด
เวลา 15.30 น. ปิดชำระค่าธรรมเนียม
เวลา 16.30 น. ปิดทำการ
ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ (ยกเว้นผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ความจุ กระบอกสูบขนาดไม่เกิน 110 ซีซีต้องมีอายุไม่ต่ำ กว่า 15 ปี บริบูรณ์) และต้องไม่เป็นผู้มีร่างกาย บกพร่อง หรือ ตาบอดสี
การขอดำเนินการเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถ ให้ยื่นคำขอที่สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ กรมการขนส่งทางบก สำนักงานขนส่งเขตพื้นที่ 1, 2, 3 และ 4 สำนักงานขนส่งจังหวัด หรือสำนักงานขนส่งจังหวัดสาขา
หลักฐานประกอบคำขอ
1. บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นซึ่งใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมด้วยภาพถ่าย ในกรณีผู้ขอเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้ยื่นใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวหรือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทาง พร้อมด้วยภาพถ่าย
2. ภาพถ่ายหรือสำเนาทะเบียนบ้าน ในกรณีผู้ขอเป็นคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ให้ยื่นใบสำคัญถิ่นที่อยู่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว (WORK PERMIT) ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย หรือหลักฐานแสดงที่พักอาศัยในราชอาณาจักรที่ทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศออกให้ แต่ต้องออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 ปี
3. ใบรับรองแพทย์แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ และไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด แต่ต้องออกก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน
4. รูปถ่าย ขนาด 3 x 4 ซ.ม. (1 นิ้ว) ซึ่งถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 2 รูป (สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นรูปแบบใหม่ ไม่ต้องนำรูปมา แต่ต้องชำระเงินค่าบริการ 100 บาท
ถ้าผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถมีใบอนุญาตขับรถดังต่อไปนี้ ให้นำมาด้วย พร้อมภาพถ่าย เพื่อจะได้รับสิทธิ์ยกเว้นการทดสอบบางประการ ดังนี้
- ใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย
- ใบอนุญาตพิเศษให้ขับรถยนตร์ทหารตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์ทหาร ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย
- ใบอนุญาตขับรถตามความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย
- ใบอนุญาตขับรถของรถประเภทเดียวกันกับที่ขอรับใบอนุญาตซึ่งรัฐบาลของประเทศอื่นออกให ซึ่งยังไม่สิ้นอายุ พร้อมด้วยภาพถ่าย
ในกรณีใบอนุญาตขับรถมิได้มีข้อความเป็นภาษาอังกฤษ ให้สถานทูตแห่งประเทศผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถแปลหรือจัดทำเอกสารรับรองใบอนุญาตขับรถเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ภาษาใดภาษาหนึ่ง หรือทั้งสองภาษารวมกัน
กำหนดเวลาและขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตใหม่
เวลา 08.30 - 10.00 น. ยื่นคำขอพร้อมหลักฐานประกอบคำขอที่ช่องบริการที่ 2 พร้อมทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
การทดสอบสมรรถภาพของร่างกาย แบ่งออกเป็น
การทดสอบปฏิกิริยา ให้ทดสอบความสามารถในการใช้เบรกเท้ารวม 3 ครั้ง หากสามารถเหยียบเบรกได้ในระยะเวลาน้อยกว่า หรือเท่ากับ 0.75 วินาที 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
การทดสอบสายตา แบ่งเป็น
1. ทดสอบสายตาทางกว้าง ถ้าสามารถมองเห็นทั้งด้านซ้ายและด้านขวา เป็นมุมกว้างข้างละ 75 องศา 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
2. ทดสอบสายตาทางลึก ให้ทดสอบการมองเห็นในระยะ 2.50 - 3.50 เมตร รวม 3 ครั้ง หากผลการทดสอบห่างจากจุดที่กำหนดไม่เกินกว่า 1 นิ้ว 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
3. ทดสอบสายตาบอดสี ให้ดูสีเขียว สีแดง และสีเหลืองจากเครื่องทดสอบหรือแผ่นภาพทดสอบที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดหรือเห็นชอบ โดยอยู่ห่างจากแผ่นภาพทดสอบในระดับสายตาระยะไม่น้อยกว่า 3 เมตร แล้วอ่านสีตามที่เจ้าหน้าที่กำหนดสีละ 3 ครั้ง หากอ่านได้ถูกต้อง 2 ใน 3 ครั้ง ให้ถือว่าผ่านการทดสอบ
ยื่นคำขอพร้อมหลักฐานประกอบ
ทดสอบสายตาทางลึก
และทางกว้าง
ทดสอบตาบอดสี
เวลา 10.00 - 11.00 น. อบรมวิชากฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก (การขับขี่อย่างปลอดภัย)
เวลา 11.00 - 12.00 น. อบรมวิชากฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (มารยาทในการขับรถ)
เวลา 12.00 - 13.00 น. พักเที่ยง
เวลา 13.00 - 13.30 น. ทดสอบข้อเขียนด้วยระบบ E-exam พร้อมแจ้งผลสอบ
การทดสอบข้อเขียน
ผู้เข้ารับการทดสอบข้อเขียนต้องทดสอบความรู้ในข้อควรปฏิบัติ หรือข้อบังคับการเดินรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์และกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตามชนิดของใบอนุญาต กรณีเป็นการทดสอบสำหรับการขอรับใบอนุญาตขับรถสาธารณะ ต้องทดสอบความรู้เกี่ยวกับถนนและทางหลวงในเขตจังหวัดที่ขอรับใบอนุญาตขับรถนั้นด้วย
จะใช้วิธีการทดสอบด้วยระบบ E-exam จำนวน 30 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน และต้องได้ 23 คะแนนขึ้นไปจึงจะถือว่าผ่านการทดสอบทั้งรถยนต์และจักรยานยนต์
เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป ทดสอบขับรถ - รับชำระค่าธรรมเนียม-จ่ายใบอนุญาตฯ
การทดสอบขับรถ
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องปฏิบัติ ดังนี้
1. การทดสอบขับรถยนต์ต้องคาดเข็มขัดนิรภัย เว้นแต่เป็นรถยนต์ที่ไม่ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยตามที่กฎหมายกำหนด
2. การทดสอบขับรถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกนิรภัย
การทดสอบขับรถยนต์ ให้ใช้ท่าทดสอบ ดังนี้
ท่าที่ 1 การขับรถเดินหน้าและหยุดรถเทียบทางเท้า
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องขับรถเดินหน้าตั้งแต่เริ่มขับรถอย่างต่อเนื่องไปจนถึงจุดทดสอบที่กำหนดให้หยุดรถ โดยให้หยุดรถได้เพียงครั้งเดียว ณ จุดที่กำหนดให้หยุดเท่านั้น ด้านซ้ายของรถต้องขนานขอบทางและห่างจากขอบทางไม่เกิน 25 เซนติเมตร กันชนหน้าหรือล้อหน้าสุดหรือขอบล้อสำหรับที่ไม่มีกันชนหน้าต้องไม่ล้ำเกินจุดหยุดรถข้างทาง และต้องอยู่ห่างจากจุดหยุดรถนั้น ไม่เกิน 1 เมตร และ ต้องไม่ขับรถปีนทางเท้าหรือขอบทาง
ท่าที่ 2 การขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง ให้เลือกทดสอบแบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้
แบบที่ 1 ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังออกโดยตลอดช่องเดินรถ ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ในแนวตรงขนานกัน 2 แถว มีความยาวประมาณ 10 - 12 เมตร หลักแต่ละหลักในแถวเดียวกัน มีระยะห่าง 1.5 เมตร ส่วนความกว้างของช่องเดินรถเท่ากับความกว้างสุดของตัวรถรวมกระจกมองข้างบวกเพิ่มอีก 0.5 ิเมตร ต้องไม่ขับรถชนหรือเบียดหลัก ให้ขับรถเดินหน้าหรือถอยหลังได้เพียงครั้งเดียว และเครื่องยนต์ต้องไม่ดับ
แบบที่ 2 ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังออกโดยตลอดช่องเดินรถ ซึ่งมีขนาดความกว้าง 2.50 เมตร ยาว 10 - 12 เมตร เป็นระยะคงที่ใช้กับรถทุกขนาด ล้อรถต้องไม่ทับเส้น หรือไม่ชน หรือเบียดหลัก ให้ขับรถเดินหน้าและถอยหลังได้เพียงครั้งเดียว และเครื่องยนต์ต้องไม่ดับ
ท่าที่ 3 การขับรถถอยหลังเข้าจอดและออกจากช่องว่างด้านซ้าย
ให้ขับรถถอยหลังเข้าจอดในช่องว่างด้านซ้ายซึ่งประกอบด้วยหลักไม่น้อยกว่า 9 หลัก เป็นช่องกว้างเท่ากับความกว้างของรถรวมกระจกมองข้างบวกเพิ่มข้างละ 0.5 เมตร ความยาวของช่องจอดเท่ากับความยาวของตัวรถบวกเพิ่มอีก 2.5 เมตร ตั้งแต่เริ่มเข้าเกียร์ขับรถถอยหลังเข้าจอดจนกระทั่งขับออกจากช่องว่างด้านซ้ายต้องเข้าเกียร์หรือเปลี่ยนเกียร์ไม่เกิน 7 ครั้ง ต้องไม่ชนหรือเบียดหลัก และตัวรถต้องขนานกับขอบทางหรือหลักด้านซ้าย ล้อรถต้องไม่ทับเส้นแบ่งช่องทาง
ท่าที่ 4 การหยุดรถและออกรถบนถนนลาด (สำหรับรถเกียร์ธรรมดา)
ให้ขับรถขึ้นเนินหรือสะพานโค้งแล้วหยุดรถบนเชิงลาดของเนินหรือสะพานโค้งนั้น โดยให้กันชนหน้าอยู่ที่จุดหยุดรถแล้วออกรถข้ามเนินหรือสะพานโค้งนั้นไปโดยปลอดภัย ต้องไม่ขับรถในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเป็นเหตุให้ตัวรถเคลื่อนถอยจากจุดที่หยุดเกินกว่า 1 เมตร และเครื่องดับไม่เกิน 2 ครั้ง
ท่าที่ 5 การกลับรถ
ให้กลับรถในช่องเดินรถ ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งไว้ขนานกัน 2 แถว มีความยาวประมาณ 10 - 12 เมตร หลักในแต่ละแถวห่างกัน 1.5 เมตร ส่วนความกว้างของช่องเดินรถเท่ากับความยาวของรถบวกเพิ่มอีก 2 เมตร ต้องไม่ขับรถชน หรือเบียดหลัก และตั้งแต่เริ่มขับรถเพื่อกลับรถ จนกระทั่งกลับรถแล้วเสร็จต้องเปลี่ยนเกียรไม่เกินกว่า 7 ครั้ง
ท่าที่ 6 การขับรถเดินหน้าเข้าจอดในช่องที่เป็นมุมฉาก
ให้ผู้เข้ารับการทดสอบขับรถจากจุดเริ่มต้นให้ขับเดินหน้าเข้าไปในช่องจอดที่เป็นมุมฉาก ซึ่งประกอบด้วยหลักที่ตั้งเป็นแนวทดสอบ 2 แถว ขนานกันเป็นช่องเดินรถกว้าง 8 เมตร ยาวประมาณ 10 -20 เมตร และหลักอีก 2 แถวที่ตั้งเป็นแนวช่องจอดที่เป็นมุมฉากกับช่องเดินรถที่มีความกว้างเท่ากับความกว้างของตัวรถรวมกับกระจกมองข้างบวกเพิ่มอีกข้างละ 1 เมตร ความยาวเท่ากับความยาวของตัวรถบวกเพิ่มอีก 1 เมตร
ท่าที่ 7 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
ให้ขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ไม่น้อยกว่า 8 เครื่องหมาย คือ ป้ายหยุด ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามเลี้ยวขวา ให้เลี้ยวซ้ายหรือให้เลี้ยวขวา ห้ามหยุดรถ ห้ามเข้า และเครื่องหมายอื่นๆ อีก 3 เครื่องหมาย และต้องให้สัญญาณไฟตามจุดต่างๆ ได้ถูกต้องทุกแห่ง
การทดสอบขับรถยนต์ ให้ทดสอบขับรถ จำนวน 3 ท่า คือ ท่าที่ 1 และท่าที่ 2 เป็นท่าบังคับ และเลือกทดสอบอีก 1 ท่าตามความเหมาะสมของสนามทดสอบ ยกเว้นรถเกียร์อัตโนมัติไม่ใช้ท่าที่ 4 (สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการใช้ท่าที่ 1,2,3 ในการทดสอบ)
การทดสอบขับรถจักรยานยนต์ ให้ใช้ท่าทดสอบ ดังนี้
ท่าที่ 1 การขับรถโดยปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร
ผู้เข้ารับการทดสอบต้องปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรไม่น้อยกว่า 5 เครื่องหมาย คือ ป้ายหยุด ห้ามเลี้ยวซ้ายหรือห้ามเลี้ยวขวา ให้เลี้ยวซ้ายหรือให้เลี้ยวขวา ห้ามหยุดรถ ห้ามเข้า และต้องให้สัญญาณไฟตามจุดต่างๆ ได้ถูกต้องทุกแห่ง
ท่าที่ 2 การขับรถทรงตัวบนทางแคบ
ต้องขับขี่โดยทรงตัวบนอุปกรณ์ที่ใช้ไม้กระดานกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 15 เมตร หรือใช้คอนกรีตเทเป็นแนวเส้นตรงตามขนาดดังกล่าวให้สูงประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร โดยให้กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดห่างจากไม้กระดานหรือแนวคอนกรีต 8 เมตร และต้องขับผ่านตลอดตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลาไม่น้อยกว่า 10 วินาที และเริ่มนับเวลาเมื่อล้อหลังขึ้นอยู่บนอุปกรณ์และสิ้นสุดเมื่อล้อหน้าลงจากอุปกรณ์
ในระหว่างขับ เท้าต้องไม่หลุดจากที่พักเท้า ล้อต้องไม่ตกหรือลื่นไถลจากอุปกรณ์ ใช้ความเร็วอย่างเหมาะสม และเครื่องต้องไม่ดับระหว่างทดสอบ
ท่าที่ 3 การขับรถผ่านทางโค้งรัศมีแคบรูปตัวแซด
ให้ขับรถในทางโค้งรัศมีแคบ ที่ใช้หลักหรือกรวยหรือใช้คอนกรีตเทเป็นรูปตัวแซด (Z) ที่มีช่องเดินรถกว้าง 2 เมตร กรวยหรือหลักห่างกัน 1.5 เมตร ฐานบนและฐานล่างของตัวแซด ยาว 5 เมตร ความยาวระหว่างฐานบนและฐานล่างของตัวแซด ยาว 16 เมตร ให้ขับรถช้า ใช้เกียร์ต่ำและสามารถควบคุมรถขับเลี้ยวขวาและเลี้ยวซ้ายไปได้ตลอด ห้ามลื่นไถลหรือรถล้ม ไม่ชนกรวยหรือหลัก เครื่องยนต์ต้องไม่ดับ และไม่ใช้เท้าแตะพื้น
ท่าที่ 4 การขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวารูปตัวเอส
ให้ขับรถผ่านทางโค้งซ้ายและโค้งขวา ที่ใช้หลักหรือกรวยหรือใช้คอนกรีตเทเป็นรูปตัวเอส (S) ที่มีช่องทางเดินรถกว้าง 2 เมตร ยาว 17 เมตร กรวยหรือหลักห่างกัน 1 เมตร ให้สามารถควบคุมรถผ่านไปได้ตลอดโดยรถไม่เสียหลักลื่นไถลหรือล้ม ไม่ชนกรวยหรือหลัก เครื่องยนต์ต้องไม่ดับ และไม่ใช้เท้าแตะพื้น
ท่าที่ 5 การขับรถหลบหลีกสิ่งกีดขวาง
ให้ขับรถด้วยความเร็วที่ 20 - 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขับรถหลบหลีกกรวยยางที่ตั้งไว้สำหรับทดสอบไปทางด้านซ้ายและด้านขวาในลักษณะสลับฟันปลา ซึ่งกรวยยางตั้งบนพื้นที่ที่มีความกว้าง 3.5 เมตร จำนวน 5 หลัก เป็นเส้นตรงบริเวณกึ่งกลางของพื้นที่ที่ใช้ทำการทดสอบ โดยให้กรวยยางแต่ละอันมีระยะห่าง 5 เมตร โดยให้จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดมีระยะห่างจากกรวยยาง จำนวน 8 เมตร ในระหว่างขับรถต้องสามารถควบคุมรถได้ดี ไม่เสียหลักลื่นไถล ไม่เฉี่ยวหรือชนสิ่งกีดขวางหรือขอบทาง และเครื่องยนต์ต้องไม่ดับขณะขับรถ
การทดสอบขับรถจักรยานยนต์ ให้ทดสอบขับรถ จำนวน 3 ท่า คือ ท่าที่ 1 เป็นท่าบังคับ และเลือกทดสอบอีก 2 ท่าตามความเหมาะสมของสนามทดสอบ (สำนักงานขนส่งจังหวัดสมุทรปราการใช้ท่าที่ 1,2,5 ในการทดสอบ)
*เมื่อผ่านการทดสอบแล้วจะได้รับใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว มีกำหนด 1 ปี จากนั้นจึงขอเปลี่ยนเป็นใบอนุญาตขับรถชนิดส่วนบุคคลมีกำหนด 5 ปี เมื่อใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราวมีอายุครบ 1 ปี แล้ว และมิได้นำมาเปลี่ยนประเภท หากขาดอายุเกิน 1 ปีแต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องทดสอบข้อเขียนใหม่ หากขาดอายุเกิน 3 ปี จะต้องทำการทดสอบใหม่ทั้งหมด การดำเนินการขอใบอนุญาตขับรถใหม่ ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน นับจากวันยื่นคำขอ ถ้าเกิน 90 วัน ต้องดำเนินการใหม่ทั้งหมด
เวลา 15.30 น. ปิดชำระค่าธรรมเนียม
เวลา 16.30 น. ปิดทำการ