การขอรับใบขับขี่รถสาธารณะ ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่รถสาธารณะ
1) ต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว แล้วแต่กรณี ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 ดังนี้
(1) ต้องมีอายุไม่ต้ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์ สำหรับผู้ขอรับใบขับขี่รถสาธารณะและใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ สำหรับผู้ขอรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
(3) มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(4) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
(5) ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
(6) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
(7) ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
(8) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
3) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป สำหรับความผิดเกี่ยวกับการขับรถอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้าย ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
(ก) ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย
(ข) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
(ค) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(ง) ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
(จ) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(ฉ) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่น
4) มีสัญชาติไทย
5) รู้จักถนนและทางหลวงในจังหวัดที่ขอรับใบขับขี่พอสมควร
6) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อน่ารังเกียจตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
7) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ
8) ไม่เคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ หรือความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดต่อเสรีภาพ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ความผิดฐานรับของโจร และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวงกฎหมายอาญา หรือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ในกรณีที่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8) ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า
(ก) หกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือน
(ข) หนึ่งปีสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือนในคดีเกี่ยวด้วยการใช้รถกระทำความผิด หรือ
(ค) หนึ่งปีหกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาเกินสามเดือนแต่ไม่เกินสามปี และได้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนโดยชี้แจงถึงเหตุผลที่ตนต้องโทษพร้อมกับแสดงหลักฐานว่าคนเป็นบุคคลที่มีความประพฤติเรียบร้อยควรไว้วางใจให้ขับรถยนต์สาธารณะหรือรถจักรยานยนต์สาธารณะได้ แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนดำเนินการสอบสวนคำร้องดังกล่าว ถ้าเห็นด้วยกับคำร้องก็ให้มีอำนาจออกใบอนุญาตขับรถให้ได้โดยมิให้นำ 8) มาใช้บังคับ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยให้สั่งยกคำร้องและแจ้งให้ผู้ขอทราบ
หลักฐานประกอบคำขอ
1) ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล หรือใบแทนใบขับขี่รถดังกล่าว พร้อมด้วยสำเนา แล้วแต่กรณี
2) บัตรประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนา
3) สำเนาทะเบียนบ้าน
4) ใบรับรองแพทย์แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถและไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่เฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด แต่ต้องออกก่อนวันื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน
5) หลักฐานการรับรองซึ่งแสดงว่าผ่านการอบรมและจบหลักสูตรการอบรมจากกรมการขนส่งทางบก หรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ถ้ามี)
ขั้นตอนการดำเนินการ
1) ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
2) ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
ทดสอบสายตาทางลึก
ทดสอบสายตาทางกว้าง
ทดสอบปฎิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรคเท้า)
3) อบรม 5 ชั่วโมง สำหรับรถยนต์สาธารณะ และรถยนต์สามล้อสาธารณะ และอบรม 3 ชั่วโมง สำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
4) การทดสอบภาคทฤษฎี (ข้อเขียน)
5) ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่
หมายเหตุ
กรณีใบอนุญาตชนิดชั่วคราว หรือชนิดส่วนบุคคล ที่นำมายื่นสิ้นอายุเกิน 3 ปี เพิ่มชั้นตอนการสอบขับรถ
ที่มา กรมการขนส่งทางบก
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบขับขี่รถสาธารณะ
1) ต้องได้รับใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว หรือใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว แล้วแต่กรณี ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
2) ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 46 ดังนี้
(1) ต้องมีอายุไม่ต้ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์ สำหรับผู้ขอรับใบขับขี่รถสาธารณะและใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ สำหรับผู้ขอรับใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์
(2) มีความรู้ความสามารถในการขับรถ
(3) มีความรู้ในข้อบังคับการเดินรถตามพระราชบัญญัติรถยนต์ และตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก
(4) ไม่เป็นผู้มีร่างกายพิการจนเป็นที่เห็นได้ว่าไม่สามารถขับรถได้
(5) ไม่มีโรคประจำตัวที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเห็นว่าอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ
(6) ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน
(7) ไม่มีใบขับขี่รถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
(8) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกยึดหรือเพิกถอนใบขับขี่
3) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษ หรือถูกเจ้าพนักงานเปรียบเทียบปรับตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป สำหรับความผิดเกี่ยวกับการขับรถอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพ้นโทษครั้งสุดท้าย ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
(ก) ฝ่าฝืนสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมาย
(ข) ในขณะเมาสุราหรือของเมาอย่างอื่น
(ค) ในลักษณะกีดขวางการจราจร
(ง) ใช้ความเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด
(จ) โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
(ฉ) โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือนร้อนของผู้อื่น
4) มีสัญชาติไทย
5) รู้จักถนนและทางหลวงในจังหวัดที่ขอรับใบขับขี่พอสมควร
6) ไม่เป็นผู้มีโรคติดต่อน่ารังเกียจตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
7) ไม่เป็นผู้ติดสุรายาเมาหรือยาเสพติดให้โทษ
8) ไม่เคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ หรือความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน ความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดต่อชีวิต ความผิดต่อร่างกาย ความผิดต่อเสรีภาพ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ความผิดฐานรับของโจร และความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวงกฎหมายอาญา หรือความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ หรือโดยคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ในกรณีที่เป็นผู้ขาดคุณสมบัติตามข้อ 8) ต้องพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า
(ก) หกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือน
(ข) หนึ่งปีสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่เกินสามเดือนในคดีเกี่ยวด้วยการใช้รถกระทำความผิด หรือ
(ค) หนึ่งปีหกเดือนสำหรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาเกินสามเดือนแต่ไม่เกินสามปี และได้ยื่นคำร้องต่อนายทะเบียนโดยชี้แจงถึงเหตุผลที่ตนต้องโทษพร้อมกับแสดงหลักฐานว่าคนเป็นบุคคลที่มีความประพฤติเรียบร้อยควรไว้วางใจให้ขับรถยนต์สาธารณะหรือรถจักรยานยนต์สาธารณะได้ แล้วแต่กรณี ให้นายทะเบียนดำเนินการสอบสวนคำร้องดังกล่าว ถ้าเห็นด้วยกับคำร้องก็ให้มีอำนาจออกใบอนุญาตขับรถให้ได้โดยมิให้นำ 8) มาใช้บังคับ แต่ถ้าไม่เห็นด้วยให้สั่งยกคำร้องและแจ้งให้ผู้ขอทราบ
หลักฐานประกอบคำขอ
1) ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลชั่วคราว ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ชั่วคราว ที่ได้รับมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล หรือใบแทนใบขับขี่รถดังกล่าว พร้อมด้วยสำเนา แล้วแต่กรณี
2) บัตรประชาชนฉบับจริง พร้อมสำเนา
3) สำเนาทะเบียนบ้าน
4) ใบรับรองแพทย์แสดงว่าผู้ขอไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถและไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่เฟือน ซึ่งมีอายุใช้ได้ตามที่แพทย์ผู้รับรองกำหนด แต่ต้องออกก่อนวันื่นคำขอไม่เกิน 1 เดือน
5) หลักฐานการรับรองซึ่งแสดงว่าผ่านการอบรมและจบหลักสูตรการอบรมจากกรมการขนส่งทางบก หรือโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกรับรองตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก (ถ้ามี)
ขั้นตอนการดำเนินการ
1) ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
2) ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
ทดสอบการมองเห็นสี ที่จำเป็นในการขับรถ
ทดสอบสายตาทางลึก
ทดสอบสายตาทางกว้าง
ทดสอบปฎิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เบรคเท้า)
3) อบรม 5 ชั่วโมง สำหรับรถยนต์สาธารณะ และรถยนต์สามล้อสาธารณะ และอบรม 3 ชั่วโมง สำหรับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
4) การทดสอบภาคทฤษฎี (ข้อเขียน)
5) ชำระค่าธรรมเนียม / ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ / จ่ายใบขับขี่
หมายเหตุ
กรณีใบอนุญาตชนิดชั่วคราว หรือชนิดส่วนบุคคล ที่นำมายื่นสิ้นอายุเกิน 3 ปี เพิ่มชั้นตอนการสอบขับรถ
ที่มา กรมการขนส่งทางบก